( สำหรับนักศึกษารหัส 62 - 66 )

ชื่อปริญญา

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรนานาชาติ)

รหัสและชื่อหลักสูตร
(ภาษาไทย): วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรนานาชาติ)
(ภาษาอังกฤษ): Master of Science Program in Computing (International Program)

 

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อย่อ (ภาษาไทย): วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การคอมพิวเตอร์)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Master of Science (Computing)

 

ปรัชญา Philosophy: จัดการเรียนการสอนการผลิตงานวิจัยพื้นฐาน หรืองานวิจัยเชิงการแก้ปัญหาและการประยุกต์ใช้ รวมถึงการใช้โจทย์จากภาคอุตสาหกรรมและสังคมเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี องค์ความรู้ และนวัตกรรมด้านการคอมพิวเตอร์ อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคม และเศรษฐกิจ

วัตถุประสงค์ Goals:

  1. เพื่อพัฒนามหาบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถอย่างถ่องแท้ ทางด้านการคอมพิวเตอร์ เน้นเทคโนโลยีวิทยาการข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ (Data Science and Artificial Intelligence) วิศวกรรมซอฟต์แวร์และสื่อ (Software Engineering and Media) ระบบคอมพิวเตอร์ การสื่อสารและความมั่นคงทางไซเบอร์ (Computer Systems, Communication and Cyber-security)  ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์กับการประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับแนวหน้า
  2. เพื่อพัฒนามหาบัณฑิตที่มีความสามารถในการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนาวิทยาการใหม่ ๆ  อันจะนำมาซึ่งประโยชน์ของตนและสังคม
  3.   เพื่อพัฒนามหาบัณฑิตให้เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า สามารถตอบสนองนโยบายในการพัฒนาประเทศ  มีคุณธรรมจริยธรรม

 

วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
วัน – เวลาราชการปกติ

 

ตัวอย่างอาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1) วิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Engineer)

2) นักวิชาการทางด้านคอมพิวเตอร์ (Computer Technical Officer)

3) นักวิจัยออกแบบและพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์ต่าง ๆ (System, Software, and Application Designer and Developer)

4) ผู้บริหารระบบสารสนเทศในองค์กร (Information Systems Manager)

5) นักวางแผนและกำกับนโยบายระบบสารสนเทศ (Plan and Policy Officer)

6) ผู้ผลิตงานด้านคอมพิวเตอร์กราฟฟิคและมัลติมีเดีย (Computer Graphics and Multimedia Designer)

7) นักบริหารเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network Administrator)

8) นักวิทยาการข้อมูล (Data Scientist)

9) อาจารย์ (Professor) ด้านคอมพิวเตอร์

10) วิศวกรด้านอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่งและสมองกลฝั่งตัว (Internet of Things and Embedded System Engineer)

11) วิศวกรข้อมูล (Data Engineer)

Research Team

โครงสร้างหลักสูตร 

แผน ก แบบ ก 1   36 หน่วยกิต
- วิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก 2   36 หน่วยกิต
- หมวดวิชาบังคับ 6 หน่วยกิต
- หมวดวิชาเลือก 6 หน่วยกิต
- วิทยานิพนธ์ 24 หน่วยกิต

 

รายวิชา

หมวดวิชาบังคับ แผน ก 2

969-601

ระเบียบวิธีวิจัยทางด้านการคอมพิวเตอร์

(Research Methodology in Computing)

3(3-0-6)

969-602

สถิติขั้นสูงสำหรับการคอมพิวเตอร์

(Advanced Statistics for Computing)

3(3-0-6)

969-603

สัมมนา*

(Seminar)

1(0-2-1)

หมายเหตุ วิชาสัมมนาไม่นับหน่วยกิต (audit)*

 

 หมวดวิชาเลือก                                                     

นักศึกษาสามารถเลือกเรียนรายวิชาเลือกจากรายวิชาต่อไปนี้ หรือเลือกเรียนรายวิชาอื่นที่เปิดสอนภายในวิทยาลัยฯ หรือ จากคณะอื่นในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์หรือมหาวิทยาลัยอื่นได้โดยได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์


 กลุ่มวิชาวิทยาการข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์

969-610

การทำเหมืองข้อมูล

(Data Mining)

3(3-0-6)

969-611

การประมวลภาษาธรรมชาติ 

(Natural Language Processing)

3(3-0-6)

969-612

คอมพิวเตอร์วิทัศน์

(Computer Vision)

3(3-0-6)

969-613

การวิเคราะห์ข้อความและการประยุกต์

(Text Analytics and Its Applications)

3(3-0-6)

969-614

ปัญญาประดิษฐ์

(Artificial Intelligence)

3(3-0-6)

969-615

เครือข่ายประสาทเทียม

(Neural Networks)

3(3-0-6)

969-616

การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่และการประยุกต์

(Big Data Analytics and Applications)

3(3-0-6)

969-617

ระบบการจัดการฐานข้อมูลขั้นสูง

(Advanced Database Management System)

3(3-0-6)

969-618

เทคโนโลยีทางการเงิน

​(Financial Technology)

3(3-0-6)

969-619

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อธุรกิจ

(Information Technology for Business)

3(3-0-6)


กลุ่มวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์และสื่อ

969-620

การบำรุงรักษาและวิวัฒนาการของซอฟต์แวร์ 

(Software Maintenance and Evolution)

3(3-0-6)

969-621

การคิดทางสถาปัตยกรรม

(Architectural Thinking)

3(3-0-6)

969-622

การทวนสอบและการตรวจสอบความสมเหตุสมผลของซอฟต์แวร์ 

(Software Verification and Validation)

3(3-0-6)

969-623

วิธีวิศวกรรมฟอร์มอล 

(Formal Method Engineering)

3(3-0-6)

969-624

วิศวกรรมซอฟต์แวร์เชิงประจักษ์ขั้นสูง 

(Advanced Empirical Software Engineering)

3(3-0-6)

969-625

เทคโนโลยีเว็บขั้นสูง

(Advanced Web Technologies)

3(3-0-6)

969-626

เทคโนโลยีเสมือนจริง

(Reality Technology)

3(3-0-6)

969-627

การประมวลผลภาพ 

(Image Processing)

3(3-0-6)

969-628

การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์

(Human-Computer Interaction)

3(3-0-6)


กลุ่มวิชาระบบคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร

969-630

เครือข่ายแบบไร้สายและเคลื่อนที่ 

(Mobile and Wireless Networks)

3(3-0-6)

969-631

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขั้นสูง 

(Advanced Data Communication and Computer Networking)

3(3-0-6)

969-632

การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆขั้นสูง

(Advanced Cloud Computing)

3(3-0-6)

969-633

ความมั่นคงของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

(Computer Network Security)

3(3-0-6)

969-634

ระบบประมวลผลแบบกระจาย

(Distributed Computing Systems)

3(3-0-6)


กลุ่มวิชาอื่น ๆ

969-640

หัวข้อพิเศษทางด้านการคอมพิวเตอร์ 1

(Special Topics in Computing I)

3(3-0-6)

969-641

หัวข้อพิเศษทางด้านการคอมพิวเตอร์ 2

(Special Topics in Computing II)

3(3-0-6)

หมวดวิทยานิพนธ์                                                     

แผน ก แบบ ก1 

969-801

วิทยานิพนธ์

(Thesis)

36(0-108-0)

แผน ก แบบ ก2

969-802

วิทยานิพนธ์

(Thesis)

  24(0-72-0) 







แผนการศึกษา

แผน ก แบบ ก 1  

ชั้นปีที่ 1   ภาคการศึกษาที่ 1

969–603

สัมมนา*

Seminar

1(0-2-1) หน่วยกิต

969–801

วิทยานิพนธ์

Thesis

9(0-27-0) หน่วยกิต       

รวม

9(0-29-1) หน่วยกิต

ชั้นปีที่ 1   ภาคการศึกษาที่ 2

969–603

สัมมนา*

Seminar

1(0-2-1) หน่วยกิต

969–801

วิทยานิพนธ์

Thesis

9(0-27-0) หน่วยกิต       

รวม

9(0-29-1) หน่วยกิต


ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1

969–603

สัมมนา*

Seminar

1(0-2-1) หน่วยกิต

969–801

วิทยานิพนธ์

Thesis

9(0-27-0) หน่วยกิต       

รวม

9(0-29-1) หน่วยกิต

ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2

969–603

สัมมนา*

Seminar

1(0-2-1) หน่วยกิต

969–801

วิทยานิพนธ์

Thesis

9(0-27-0) หน่วยกิต       

รวม

9(0-29-1) หน่วยกิต

 

แผน ก แบบ ก 2

ชั้นปีที่ 1   ภาคการศึกษาที่ 1

969–601

ระเบียบวิธีวิจัยทางด้านการคอมพิวเตอร์

Research Methodology in Computing

3(3-0-6) หน่วยกิต

969–602

สถิติขั้นสูงสำหรับการคอมพิวเตอร์

Advanced Statistics for Computing

3(3-0-6) หน่วยกิต 

969–603

สัมมนา*

Seminar

1(0-2-1) หน่วยกิต

969–802

วิทยานิพนธ์

Thesis

3(0-9-0) หน่วยกิต 

รวม

9(6-11-13) หน่วยกิต

ชั้นปีที่ 1   ภาคการศึกษาที่ 2

969–xxx

วิชาเลือก 1 

Elective Course I

3(3-0-6) หน่วยกิต 

969–xxx

วิชาเลือก 2

Elective Course II

3(3-0-6) หน่วยกิต         

969–603

สัมมนา*

Seminar

1(0-2-1) หน่วยกิต

969–802

วิทยานิพนธ์

Thesis

3(0-9-0) หน่วยกิต 

รวม

9(6-11-13) หน่วยกิต


ชั้นปีที่ 2   ภาคการศึกษาที่ 1

969–603

สัมมนา*

Seminar

1(0-2-1) หน่วยกิต

969–802

วิทยานิพนธ์

Thesis

9(0-27-0) หน่วยกิต       

รวม

9(0-29-1) หน่วยกิต

ชั้นปีที่ 2   ภาคการศึกษาที่ 2

969–603

สัมมนา*

Seminar

1(0-2-1) หน่วยกิต

969–802

วิทยานิพนธ์

Thesis

9(0-27-0) หน่วยกิต       

รวม

9(0-29-1) หน่วยกิต


วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering) เช่น
  • กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์โดยวิธี Agile
  • สถาปัตยกรรมและการออกแบบซอฟต์แวร์ (Software Architecture and Design)
  • วิศวกรรมซอฟต์แวร์เชิงประจักษ์ (Empirical Software Engineering)
  • การปรับปรุงกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Process Improvement)
  • การบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ (Software Maintenance)
  • วิศวกรรมฟอร์มอล (Formal Engineering)
  • การออกแบบและพัฒนาแบบจำลองและข้อกำหนดทางซอฟต์แวร์แบบฟอร์มอล (Formal Modeling and Specification)
  • การทวนสอบและทดสอบซอฟต์แวร์ (Software Verification and Validation)
  • การทดสอบจากแบบจําลอง (Model-based Testing)

 

Blockchain and distributed technologies.
  • Blockchain and smart contract system
  • NFT and Game economics
  • Market dynamics in cryptocurrency with sentiment analysis
  • Blockchain platforms and services with machine learning
  • Blockchain transaction analysis and verification
  • Blockchain privacy and security

 

สื่อดิจิทัล (Digital Media) เช่น
  • Serious Games
  • Interactive Media
  • Physics-based Animation
  • Human-Computer Interaction
  • Mobile Application
  • Architectural Visualization
  • Augmented and Virtual Reality

 

ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) เช่น
  • คอมพิวเตอร์วิทัศน์ (Computer Vision)
  • การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing)
  • การแทนความรู้ (Knowledge Representation)
  • การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning)
  • ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)
  • วิทยาการหุ่นยนต์ (Robotics)
  • เหมืองข้อความ (Text Mining)

 

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Networking) เช่น
  • เครือข่ายเฉพาะกิจแบบไม่มีโครงสร้าง (Mobile Ad-hoc Networks)
  • เครือข่ายไร้สายเซ็นเซอร์ (Wireless Sensor Networks)
  • เครือข่ายเคลื่อนที่ (Network Mobility)
  • เครือข่ายเฉพาะกิจเคลื่อนที่ (Integration of Mobile Ad-hoc Networks and Network Mobility)
  • เครือข่ายยานพาหนะ (Vehicular Networking)
  • เครือข่ายเสมือน (Virtual Networks)
  • เครือข่ายของทุกสิ่ง (Internet of Things)

 

ระบบฐานข้อมูล (Database Systems) เช่น
  • การทำเหมืองข้อมูล (Data Mining)
  • คลังข้อมูล (Data Warehouse)
  • ระบบฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distributed Database)
  • ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data)

 

การคำนวณแบบคลาวด์ (Cloud Computing)
  • สถาปัตยกรรมการคำนวณแบบคลาวด์ (Cloud Computing Architecture)
  • การจัดการการจราจรสำหรับการคำนวณแบบคลาวด์ (Traffic Management for Cloud Computing)
  • ประยุกต์ใช้การคำนวณแบบคลาวด์ (Cloud Computing Applications)
  • การคำนวณแบบคลาวด์ที่มีการเคลื่อนที่ (Mobile Cloud Computing)

 

การจัดการความรู้ (Knowledge Management) เช่น
  • การจัดการสารสนเทศ (Information Management)
  • การค้นคืนสารสนเทศ (Information Retrieval)
  • การสกัดสารสนเทศ (Information Extraction)

Feedback Form


Q: ขอทราบหลักสูตรคร่าวๆ ได้หรือป่าวคะ ว่าเรียนอะไรกันบ้าง

A: หลักสูตรนี้ชื่อว่าหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ นักศึกษาจะต้องเรียนทั้งหมด 36 หน่วยกิต (แผน ก 2) โดยมีวิชาที่ต้องเรียนรวม 18 หน่วยกิต (6 วิชา) และทำวิทยานิพนธ์อีก 18 หน่วยกิต โดยหลักสูตรจะมุ่งเน้นให้นักศึกษามีความรู้ ทักษะ และความชำนาญ ในการวิเคราะห์ สร้างสรรค์ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการวิจัยเชิงบูรณาการ

Q: หลักสูตรนี้มีกี่สาขาคะ

A: หลักสูตรนี้ไม่มีสาขาย่อยให้เลือก แต่จะมีกลุ่มหัวข้องานวิจัยที่หลากหลาย เช่น สื่อดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบฐานข้อมูล การจัดการความรู้

Q: เรียนวันเสาร์อาทิตย์ หรือวันธรรมดาคะ

A: หลักสูตรในปี พ.ศ. 2558 จะมีการเรียนการสอน วันจันทร์ถึงศุกร์ ในเวลาราชการค่ะ

Q: การสอบเข้ามีการคัดเลือกอย่างไรคะ

A: การสอบคัดเลือกจะมีเฉพาะการสอบสัมภาษณ์ และพิจารณาจากเอกสารประกอบการสมัคร

Q: เป็นหลักสูตรนานาชาติ (International Program) หรือป่าวคะ

A: ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไปจะเป็นหลักสูตรนานาชาติค่ะ ภาษาที่ใช้ในการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษค่ะ

Q: หลักสูตรมีทุนการศึกษาให้หรือไม่ และต้องขดใช้ทุนหรือป่าวคะ

A: ทางหลักสูตรมีทุนการศึกษาให้ โดยจะครอบคลุม ค่าลงทะเบียนตลอด 2 ปี (4 ภาคการศึกษา) และค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน นอกจากนี้อาจจะยังได้รับทุนเพิ่มเติมจากอาจารย์ที่ปรึกษา โดยผู้ได้รับทุนจะไม่มีเงื่อนไขผูกมัดและชดใช้ทุนหลังจบการศึกษา

Q: คะแนนภาษาอังกฤษ (TOEFL, IELTS,CU-TEP, TU-GET, PSU-TEP) มีผลต่อการคัดเลือกหรือไม่?

A: ถ้าหากมีผู้สมัครจำนวนมาก คะแนนเหล่านี้อาจจะมีผลต่อการคัดเลือกของคณะกรรมการ

Q: สมัครเรียนได้ที่ไหนคะ

A: สมัครออนไลน์ได้ที่ http://www.grad.psu.ac.th/admission/

ข่าวทุนการศึกษา